บริการตรวจสอบค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของใบพัดปั๊มน้ำ หรือการสั่นสะเทือนของใบพัดพัดลม เป็นต้น ในงานอุตสาหกรรมนั้นเครื่องจักรหรือมอเตอร์ในอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักร ถ้าค่าความสั่นที่วัดได้มีค่าสูง อาจมีสาเหตุมาจากเครื่องจักรเกิดความไม่สมดุล หรือมีชิ้นส่วนใดเคลื่อนหรือหลุดไปจากตำแหน่งปกติ ซึ่งจำเป็นต้องทำการบำรุงรักษา หากปล่อยให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรง อาจทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้
ติดต่อคุณ บุรินทร์
สอบถามผ่านไลน์
LINE ID : @9motor
ความจำเป็นต่อการวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร
จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร มีความจำเป็นต่อการวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร เนื่องจากเป็นการซ่อมบำรุงตามการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้น มีความคุ้มค่าต่อการผลิตมากขึ้น ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการทำงานของเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ การตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และการจัดเก็บ-รักษาวัสดุคงคลัง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ อีกด้วย
1. เครื่อง Vibration Data Analyzer
เพื่อใช้ในงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน ซึ่งโดยทั่วไปปัญหาที่มักจะตรวจพบได้บ่อยครั้งสำหรับเครื่องจักรในอุตสาหกรรมและที่ส่งผลกระทดต่อการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องจักรมากที่สุด
จากแผนภูมิดังกล่าวพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ คือ
- การหลวมคลอนของชิ้นส่วนต่าง (Looseness) 41 เปอร์เซ็นต์
- การชำรุดของแบริ่ง (Bearing Defect) 10 เปอร์เซ็นต์
- การเสียสมดุลย์ (Unbalance) 8 เปอร์เซ็นต์
- การเยื้องศูนย์ (Misalignment) 4 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาทางแมคคานิกเหล่านี้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์รวมกันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งปัญหาทางแมคคานิกเหล่านี้ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์รวมกันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของปัญหาที่ตรวจพบ โดยปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดการตั้งแต่เริ่มติตตั้งเครื่องจักรและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง หรือ ช่วงหยุดบำรุงรักษาประจำปี แต่ถ้าไม่ได้มีการดำเนินการหรือปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นก็จะส่งผลเสียกับ ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร, การสึกหรอต่างๆ ของอุปกรณ์ อาทิ เพลาส่งกำลัง ตลับลูกปืน(Bearing) มอเตอร์ทำงานผิดปรกติ เป็นต้น โดยปัญหาทั้ง 3 ชนิดนี้ สามารถตรวจพบได้ด้วยการวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Data collection and vibration analysis) โดยใช้เครื่องมือ วิเคราะห์การสั่นสะเทือนแบบ FFT (vibration analyzer)
เครื่อง Vibration Data Analyzer Technekon STD-3300
- ความสั่นสะเทือนเครื่องจักรที่เกิดจากการเสียสมดุล UnBalance
- ตรวจวัดความสั่นสะเทือนที่เกิดจากการวางแนวเพลา คับปลิ้ง พุลเลย์ ไม่ได้ศูยน์ Miss Alignment
- ตรวจวัดความสั่นสะเทือนที่เกิดจากความเสียหายของลูกปืน Bearing Defects
- ความสั่นสะเทือนเครื่องจักรที่เกิดจากการหลวมคลอน Mechanic Looseness
- ความผิดปรกติที่เกิดจากป๊ม เช่น Flow Turbullence , Cavitation
พัฒนา Library ต่างๆสำหรับโปรแกรม VibroDesigner Expert
ทาง Technekon ได้พัฒนา Library ต่างๆสำหรับโปรแกรม VibroDesigner Expert ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่ใช้ร่วมกับผลิตภัณท์ของ Technekon STD-3300 เพื่อให้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์และชื้ถึงสาเหตุของปัญหาได้ จึงทำให้สามารถวางแผนบำรุงรักษาหรือแก้ไขข้อบกพร่องได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร มีความจำเป็นต่อการวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร เนื่องจากเป็นการซ่อมบำรุงตามการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้น มีความคุ้มค่าต่อการผลิตมากขึ้น ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการทำงานของเครื่องจักรที่ระสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ การตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และการจัดเก็บ-รักษาวัสดุคงคลัง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ อีกด้วย